วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2554

อัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคล (Personal Inflation Rate)


ณ วันที่เขียนบทความนี้ (ต้นปี พ.ศ. 2554) ปัญหาเงินเฟ้อเป็นปัญหาที่รุมเร้าประเทศไทยอย่างมาก ทั้ง น้ำมัน ราคาปุ๋ยเคมี น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง น้ำตาล มะพร้าว และยางพารา เป็นต้น
เงินเฟ้อคืออะไร?... เงินเฟ้อ (Inflation) คือ ภาวะที่ราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นเงินเฟ้อจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่ออำนาจซื้อ (Purchasing Power) ของเงินในกระเป๋าของเรา ยิ่งเงินเฟ้อมากขึ้นเท่าไรอำนาจการซื้อของเรายิ่งลดน้อยถอยลงเท่านั้น  
แต่... คำถามก็คือ อัตราเงินเฟ้อของประเทศ (National Inflation) ที่หน่วยงานของรัฐบาล (กระทรวงพานิชย์ในกรณีประเทศไทย) คำนวนและใช้เป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ (Economic Indicator) นั้นสมารถวัดอำนาจซื้อของเราจริงๆ ได้แค่ไหน?         
               ก่อนจะตอบคำถามดังกล่าวนั้น ขอปูพื้นฐานความรู้เรื่องอัตราเงินเฟ้อซักเล็กน้อย... อัตราเงินเฟ้อของประเทศที่หน่วยงานของรัฐคำนวนนั้นเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงเค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำนัก (Weighted Average) ของราคาสินค้า (ชนิดต่างๆ ที่เอามาคำนวน) ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยแบ่งสินค้าออกเป็นหมวดต่างๆ โดยแต่ละหมวดมีน้ำหนักค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน ลองนึกถึงความเป็นจริงว่าในแต่ละเดือนเราใช้จ่ายไปในสินค้าแต่ละชนิด เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ค่าเดินทาง และที่พักไม่เท่ากัน นอกจากนั้นการคำนวนเงินเฟ้อต้องคำนึงถึงที่ตั้งของครัวเรือนด้วย (แต่ละพื้นที่ราคาสินค้าไม่เท่ากันและเปลี่ยนแปลงแตกต่างกัน) ขนาดของครัวเรือน และรายได้ประจำของครัวเรือน
ประเทศไทยใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) วัดอัตราเงินเฟ้อของประเทศ โดยดัชนีราคาผู้บริโภคแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (General Inflation) ที่กระทรวงพานิชย์ใช้วัดอัตราเงินเฟ้อ และดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน (Core Inflation) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้วิเคราะห์ในการกำหนดนโยบายการเงินของประเทศ
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป มีหมวดสินค้าและบริหารที่ทำมาคำนวนทั้งสิ้น 7 หมวด ได้แก่
1.  หมวดอาหารและเครื่องดื่ม
2.  หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า
3.  หมวดเคหสถาน
4.  หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล
5.  หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร
6.  หมวดการบันเทิงการอ่านและการศึกษา
7.  หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์

                ส่วนดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภคพื้นฐานนั้นก็จะตัดหมวดรายการสินค้าในหมวดอาหารสด (เนื่องจากมีการเคลื่นไหวขึ้นลงตามฤดูกาลสูง) และสินค้าในหมวดพลังงาน (เพราะราคาเปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลกจึงอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน) โดยน้ำหนักของแต่ละหมวดได้มาจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยมีการปรับปรุงทุกๆ 4-5 ปี โดยล่าสุดมีการปรับปรุงในปี พ.ศ. 2550
(ผู้สนใจรายละเอียดสารมารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน http://www.price.moc.go.th/price/know/cpi_note_2009.pdf)
                จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อที่หน่วยงานของรัฐคำนวนนั้นเป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากจำนวนคนส่วนใหญ่ของประเทศ นั่นหมายความว่าหากเรามีวิถีชีวิตไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างจากคนทั่วไป (ซึ่งอย่างไรแต่ละคนก็ต้องแตกต่างกันอยู่แล้ว) อัตราเงินเฟ้อของประเทศนี้จึงไม่สามารถสะท้อนอำนาจซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปของเราได้ดี
                ทางออก... จึงต้องคำนวนหาอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลของเราเองเพื่อใช้ในการวัดอำนาจซื้อที่แท้จริงของเราที่เปลี่ยนแปลงไป
ในประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ....... มีการให้บริการคำนวนอัตรงเงินเฟ้อส่วนบุคคลผ่านเว็บไซด์เลยทีเดียว แต่สำหรับประเทศ..... ไทย.. ผมยังไม่เห็นมีข้อมูลเอ่ยถึงเรื่องอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลเลยด้วยซ้ำ (ค้นหาจากระบบ Search Engine ของ Google)
                เนื่องจากข้อมูลของประเทศไทยเกี่ยวกับเงินเฟ้อแต่ละหมวดหาได้ยากเหลือเกิน (ผมพยามจะหาแล้วมาแก้ไขเพื่อให้ผู้อ่านสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงได้ต่อไป) ผมจึงนำเสนอวิธีการคำนวนอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลในลักษณะที่เป็นหลักการดังนี้
1.  จดรายจ่ายของเราในแต่ละหมวด (เจ็ดหมวดตามที่แบ่งไว้)
2.  คำนวนน้ำหนักค่าใช้จ่ายของเรา โดยนำค่าใช้จ่ายแต่ละหมวดหารด้วยใช้จ่ายรวมในแต่ละเดือน
3.  น้ำหนักค่าใช้จ่ายแต่ละหมวดที่คำนวนได้มาคูณด้วยอัตราเงินเฟ้อแต่ละหมวด**
4.  นำอัตราเงินเฟ้อแต่ละหมวดที่ได้มารวมกัน ก็จะได้อัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลของเรา

** อัตราเงินเฟ้อที่นำมาคูณนี้หากใช้อัตราเงินเฟ้อของประเทศก็อาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงมากนักเพราะอัตราเงินเฟ้อต้องคำนึงถึงที่ตั้งของครัวเรือนด้วย ในปัจจุบันมีการจัดทำอัตราเงินเฟ้อประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดหากเราใช้ตัวเลขดังกล่าวจะได้อัตราเงินเฟ้อที่ใกล้เคียงความเห็นจริงมากขึ้น

                เมื่อคำนวนอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลของเราได้แล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายประการดังนี้
1.  เราจะทราบได้ว่าที่จริงแล้วอำนาจการซื้อของเราลดลงมากหรือน้อยเพียงใด
2.  เราจะสามารถคำนวนอัตราผลตอบแทนที่ต้องการจากการลงทุนที่สารมารถครอบคลุมความเสี่ยง อัตราเงินเฟ้อ และความต้องการของเรา ได้ถูกต้องมากขึ้น
3.   เรา (อาจ) จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นส่วนบั่นทอนอำนาจซื้อของประชาชนและเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณภาพชีวิตประชาชนอยู่ในระดับต่ำลง

               และนี้ก็คือหลักการคราวๆ ของอัตราเงินเฟ้อของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคล จากข้อมูลที่กล่าวทั้งหมดข้างต้นจะเห็นได้ว่าอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลของเราอาจแตกต่างอย่างมากจากอัตราเงินเฟ้อของประเทศที่เป็นตัวเลขที่เป็นตัวชีวัดทางเศรษฐกิจก็ได้ เราจึงจำเป็นต้องคำนวนอัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อไป

เรืออากาศตรี ชินวัฒน์ หรยางกูร
อาจารย์ กองการศึกษา โรงเรียนนายเรืออากาศ  

2 ความคิดเห็น:

  1. Casino Junket at Wynn - JT Hub
    › Casino_Junket_ › Casino_Junket_ 구미 출장샵 Oct 17, 2020 — 시흥 출장마사지 Oct 군포 출장안마 17, 2020 When 세종특별자치 출장마사지 Steve Wynn first started playing slots, he knew that there were better options for gambling at Wynn. One 경상남도 출장마사지 of the greatest casinos, Wynn

    ตอบลบ